Keychron K1 Mechanical Keyboard vs Logi MX KEYS

รีวิวย่อๆ สำหรับ wireless mechanical keyboard ของ Keychron รุ่น K1 และเปรียบเทียบกับ Logitech MX Keys




Keychron K1 - First Impression

สำหรับ keyboard ของ Keychron รุ่น K1 แบบ 87 คีย์ รุ่นนี้เป็น version 4.0 ตอนที่ได้คีย์บอร์ดมา ความประทับใจแรกที่ได้สัมผัสมัน เริ่มจากกล่อง ออกแบบได้สวยงาม กระทัดรัดตามรุ่นของมันที่เป็นแบบ low profile ที่จะมีความหนาน้อยกว่ารุ่นอื่นๆ ของ Keychron ผมเลือกสวิทช์สีแดง ซึ่งตามข้อมูลจะมีเสียงเบาที่สุด

นอกจากตัวคีย์บอร์ดแล้ว ในกล่องยังมีที่ถอด key cap และ ปุ่ม key cap สำหรับเปลี่ยนสำหรีบ layout แบบ Windows และยังมีสาย charge แบบ USB-A to USB-C ซึ่งสายนี้ยังใช้สำหรับต่อคีย์บอร์ดแบบโหมด cable อีกด้วย

ตัวคีย์บอร์ดมีน้ำหนักพอสมควร ปุ่มแบบสีแดงมีเสียงที่ค่อนข้างเบา กดดูมีความนุ่มนวลพอควร ทุกปุ่มมี LED backlight เลือกรูปแบบและสีได้หลากหลาย

ที่ตัวคีย์บอร์ดมีสวิทช์สองตัว ตัวแรกใช้สำหรับเลือกสลับ keyboard layout ระหว่าง MacOS/iOS กับ Windows/Android ส่วนสวิทช์อีกตัวเป็นแบบสามทางสำหรับโหมดการทำงานของคีย์บอร์ดว่าจะใช้เป็นแบบ Cable หรือ Wireless และปิดการทำงาน

การเชื่อมต่อ - multi devices

คีย์บอร์ดรองรับการต่ออุปกรณ์ได้ 3 ตัว การ pair กับอุปกรณ์ทำได้ง่ายโดยกดปุ่ม fn พร้อมกับเลือกเบอร์ของอุปกรณ์ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที ส่วนการสลับใช้งานอุปกรณ์หลังจาก pair ไปแล้วก็แค่กดปุ่ม fn + หมายเลขของอุปกรณ์ 

ข้อเสียที่เจอเมื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์หลายๆ ตัว ตอนที่เราสลับจากไปอุปกรณ์อื่นตัวคีย์บอร์ดจะ connect กับเฉพาะอุปกรณ์ที่เราเลือกเท่านั้น แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือมันใช้เวลาประมาณนึงในการ reconnect เมื่อสลับกลับมาอุปกรณ์เดิม

ข้อเสียอีกจุดคือ keyboard layout หากเราใช้ร่วมกับอุปกรณ์ข้าม platform เช่น Mac กับ Windows การสลับระหว่างอุปกรณ์หารต้องการให้ keyboard layout เปลี่ยนตามอุปกรณ์ก็ต้องเอื้อมมือมาเลื่อนเปลี่ยน layout ที่สวิทช์ที่อยู่ด้านบนของตัว keyboard จุดนี้ดูจะไม่ค่อยสะดวก ทางแก้ก็พอมีบ้างคือจำรูปแบบ layout แบบใหม่ในอุปกรณ์อื่นที่ไม่ใช่ตัวหลักที่เราใช้งาน  ตัวอย่างเช่นตั้ง layout ของคีย์บอร์ดไว้เป็น MacOS ตอนที่สลับไปใช้กับ Windows ปุ่ม Start ของ Windows จะไปอยู่ที่ปุ่ม command แทน 

ตามความเห็นของผมข้อดีดูเหมือนจะเป็นที่ปุ่มของคีย์บอร์ด ที่ให้ความรู้สึกของการกดคีย์ที่เป็นสวิทช์จริงๆ  




การใช้งานเปรียบเทียบกับ logi MX Keys

คีย์บอร์ด MX Keys ถูกออกแบบมาในรูปแบบ low profile และมีความบางกว่า K1 ของ Keychron ที่ออกแบบมาแบบ low profile เหมือนกันและบางกว่ารุ่นอื่นของ Keychron

คีย์บอร์ดรุ่น MX Keys ของ logitech รองรับการต่อกับอุปกรณ์ได้ 3 ตัวเหมือนกับ Keychron การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์รองรับทั้งแบบ bluetooth เหมือน keychron หรือใช้ logitech unify receiver

การสลับระหว่างอุปกรณ์ทำได้รวดเร็วเนื่องจากมีปุ่มสำหรับเลือกสลับอุปกรณ์แยกมาเฉพาะ จึงใช้การกดแค่ครั้งเดียว ส่วนการสลับระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่าน bluetooth ก็ reconnect ไ้ด้อย่างรวดเร็วกว่า K1

ส่วนตัวปุ่มคีย์ใช้รูปแบบที่แตกต่างจาก mechanical keyboard แต่ให้ความนุ่มนวลและแน่นอนว่ามีเสียงที่เบากว่า K1

ในการใช้งานสลับระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้ keyboard layout ที่ต่างกันอย่าง MacOS และ Windows ตัว MX Keys เปลี่ยนรูปแบบ layout ให้โดยไม่ต้องมากดสลับเปลี่ยน keyboard layout ซึ่งจุดนี้เป็นข้อดีที่เราสามารถเลือกสลับใช้งานระหว่างอุปกรณ์ได้อย่างอิสระ


Battery Life

คีย์บอร์ดทั้งสองรุ่นมี build-in rechargeable battery ที่ใช้การ charge ผ่าน USB-C เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ได้ต่อการ charge battery เต็มหนึ่งครั้ง ตัว MX Keys จะสามารถใช้งานได้นานถึง 5 เดือนเมื่อปิด backlight ส่วน K1 ในรุ่น 87 คีย์ที่มี backligh แบบ RGB จะใช้งานได้นานสูงสุดประมาณ 110 ชั่วโมงเมื่อปิด backlight (ประมาณ 14 วัน เมื่อคิดเฉลี่ยใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง)
ในการใช้งานจริง เนื่องจากเพิ่งได้ลองใช้ Keychron K1 ได้ไม่กี่วัน เลยบอกไม่ได้ว่าใช้งานจริงได้นานแค่ไหนต่อการชาร์ทครั้งนึง แต่สำหรับ MX Keys มันสามารถใช้งานได้นานมากๆ จนจำไม่ได้ว่าชาร์ท battery ให้เต็มครั้งล่าสุดเมื่อไหร่
จุดนี้ต้องยอมรับว่า logitech มีระบบจัดการกับการใช้พลังงาน battery ได้ดีมากๆ ไม่เฉพาะตัว MX Keys แต่รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ จาก logitech 


Wrap-up

คีย์บอร์ดรุ่น K1 ของ Keychron เป็น mechanical keyboard แบบ low profile ที่บางพอสมควร ตอนสั่งซื้อสามารถเลือกได้ว่าอยากได้สวิทช์คีย์แบบไหน แดง น้ำตาล ฟ้า ตามความชอบของแต่ละคน ตัวคีย์บอร์ดออกแบบมาได้ค่อนข้างกระทัดรัดดูน่าใช้ ปุ่มกดมีความหนักแน่นและนุ่มนวลในตัว ตัวคีย์บอร์ดสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้หลายตัว แต่การสลับใช้งานระหว่างอุปกรณ์ไปมาบ่อยๆ อาจจะมีสะดุดบ้างรวมถึง layout ของคีย์บอร์ดต้องเลือกเปลี่ยนเอง ไม่ได้เปลี่ยนไปตามอุปกรณ์ที่เราเชื่อมต่ออยู่ ในส่วนของระยะเวลาใช้งานต่อการชาร์ทแบตเตอร์รี่หนึ่งครั้งดูจะน้อยไป 
จุดแข็งของ K1 จึงดูเหมือนจะเป็นที่ตัว switch คีย์นั่นเองที่เป็นตัวชูจุดเด่นของตัวมัน หากใช้ร่วมกับอุปกรณ์แค่ตัวเดียว การใช้งานน่าจะลงตัวกว่าใช้ร่วมกันหลายอุปกรณ์



Comments